ประวัติ
สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่ 576 ไร่ ตั้งอยู่บนถนน สายสระบุรี- หล่มสัก บนทางหลวงหมายเลข 21 อยู่ห่างจากตัวจังหวัด เพชรบูรณ์ไปทางอำเภอหล่มสัก ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 4-5 ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 45 หมู่ที่ 11 ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมใช้ชื่อว่าศูนย์อนุรักษ์ดินและน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2511 จนถึงปี 2513 สถานที่ราชการแห่งใหม่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เปิดเปิดอย่างเป็นทางการ มีชื่อว่า "ศูนย์อนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเพชรบูรณ์ " กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาให้แบ่งส่วนราชการใหม่ ในกรมพัฒนาที่ดิน เมื่อปี พ.ศ.2527 ศูนย์อนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 (พิษณุโลก) กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภารกิจหลัก
มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการปฏิบัติงานพัฒนาที่ดิน การทำรูปแบบแปลงสาธิต การฝึกอบรมผู้นำเกษตรกร อบรมหมอดินอาสาและ ส่งเสริมเผยแพร่ ด้านการพัฒนาที่ดินแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์โดยแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ระบบปลูกพืชเชิงอนุรักษ์ดินและน้ำ(วิธีกล/วิธีพืช) บนพื้นที่ลาดชัน การปลูกพืชแบบผสมผสานเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน การปรับปรุงบำรุงดิน โดยพืชตระกูลถั่วและอื่นๆ พื้นที่รับผิดชอบของ สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์ มีจำนวน 11 อำเภอ 117 ตำบล คลอบคลุมพื้นที่ 7,979,760 ไร่
ภารกิจรอง
งานพิเศษโครงการต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
- บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผน จัดการทรัพยากรดินและดินที่มีปัญหาเฉพาะ เช่นปัญหาดินชะล้างพังทลาย ปัญหาดินเสื่อมโทรม ดินเป็นกรด
- บริการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ก่อสร้างคันดินกั้นน้ำ ก่อสร้างทางลำเลียงในไร่นา ก่อสร้างคูรับน้ำขอบเขา ก่อสร้างบ่อดักตะกอนดิน จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำโดยวิธีกลและวิธีพืช
- ให้บริการเก็บรวบรวมตัวอย่างดินเพื่อนำไปวิเคราะห์
- ให้บริการ ณ จุดเดียว เช่น ให้คำแนะนำ แจกเอกสาร สนับสนุนปัจจัยการผลิต
- ให้บริการร่วมตรวจพิสูจน์ที่ดินในเขตป่าไม้ถาวร
- ให้บริการจัดทำแหล่งน้ำ เช่น บ่อน้ำในไร่นา สระเก็บน้ำ ขุดลอกคูคลอง ฯลฯ
- ให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้โดยการเป็นวิทยากรแก่เกษตรกรและหน่วยงาน
วิสัยทัศน์
ดำเนินการฉับไว รับใช้ปวงประชา พัฒนาทั่วถึง คำนึงถึงผลลัพธ์ ยกระดับมาตรฐาน บริการประทับใจ
พันธกิจ
- วางแผนการใช้และพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน
- วิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากการอนุรักษ์ดินและน้ำ
- การบริการ สาธิต ส่งเสริม การอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ
- สาธิต ส่งเสริม และขยายผลให้มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดิน
- ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิต และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ อย่างถูกต้อง เหมาะสม ตามหลักวิชาการ
- สนับสนุน ปัจจัยการผลิตการเกษตร จัดทำศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินประจำตำบล โดยมีศูนย์บริการงานพัฒนาที่ดินประจำตำบล เป็นศูนย์กลางการประสานงานเพื่อให้ขยายผลอย่างทั่วถึง และต่อเนื่อง
ปรัชญาการดำเนินงาน
"การพัฒนาที่ดิน เป็นรากฐานของการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน" |