กลุ่มดินจังหวัดเพชรบูรณ์

กองสำรวจและจำแนกดินได้แบ่งกลุ่มดินออกเป็น 62 กลุ่มดินทั่วประเทศ และในจังหวัดเพชรบูรณ์มีทั้งหมด 25 กลุ่มดิน คือ กลุ่มดินที่ 1 , 3 , 4 , 5 , 7 , 15 , 16 , 17 , 19 , 21 , 28 , 29 , 31 , 33 , 35 , 36 , 46 , 47 , 48 , 49 , 52 , 54 , 55 , 56 และ 62

กลุ่มดินประเภทต่าง ๆ เป็นดังนี้
กลุ่มดินที่ 1 เป็นดินเหนียวจัด ในฤดูแล้งหน้าดินแตกระแหง เป็นร่องลึก สีดินส่วนมากเป็นสีดำมีจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองปะปนอยู่ในดินชั้นบน ส่วนดินชั้น ล่างมักมีกองปูนปะปน พบตามบริเวณเทือกเขาปูนหรือหินภูเขาไฟ สภาพพื้นที่ที่จะพบเป็นที่ราบลุ่ม ปฏิกิริยาดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 6.4 – 8.0 เหมาะสำหรับทำนา นอกฤดูทำนาบางแห่งใช้ปลูกพืชไร่บางชนิด เช่นถั่วจ่าง ๆ ดินไถพรวนลำบาก เนื่องจากเป็นดินเหนียวจัดต้องไถพรวนในช่วงระยะเวลาที่มี ความชื้นเหมาะสม ได้แก่ ชุดดินช่องแค ท่าเรือ บ้านหมี่ ลพบุรีต่ำ วัฒนา

กลุ่มดินที่ 3 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนมีสีดำ ส่วนดินล่างมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อนมีจุดประสีเหลือง และสีน้ำตาลหรือสีแดง พบบริเวณ ที่ราบลุ่มหรือที่ราบเรียบ เป็นดินลึกมีการระบายน้ำเลวถึงค่อนข้างเลว ถ้าพบบริเวณชายฝั่งทะเล มักมีเปลือกหอยอยู่ในดินชั้นล่าง โดยปกติดินกลุ่มนี้จะมีความ อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติในระดับปานกลางมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.5 – 6.5 ส่วนดิน ชั้นล่างหากมีเปลือกหอยปะปน จะมีปฏิกิริยาเป็นด่างอ่อนหรือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 7.5 – 8.0 ปัจจุบัน บริเวณดังกล่าว ส่วนใหญ่ใช้ทำนา หรือยกร่องปลูกพืชผักและผลไม้ ซึ่งไม่ค่อยจะมีปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มมาก ๆ จะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมในฤดูฝน ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ใน กลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินสมุทรปราการ ชุดดินบางกอก ชุดดินฉะเชิงเทรา ชุดดินพิมาย ชุดดินบางแพ ชุดดินสิงห์บุรี

กลุ่มดินที่ 4 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนมีสีดำหรือสีเทาเข้ม ดินล่างมีสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลหรือสีเทาปนสีเขียวมะกอก มีจุดประสีน้ำตาลปน เหลืองสีเหลืองหรือสีน้ำตาลแก่ อาจพบก้อนปูนหรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีส ในชั้นดินล่าง ดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว พบบริเวณ พื้นที่ราบเรียบหรือที่ราบลุ่ม ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.5 – 6.5 แต่ถ้าดินมีก้อนปูนปะปนจะมีปฏิกิริยาค่อนข้างเป็นด่างหรือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 7.0 – 8.0 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าว ส่วนใหญ่ใช้ ทำนา บางแห่งยกร่องเพื่อปลูกพืชผักหรือผลไม้ซึ่งมักจะให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินชัยนาท ชุดดินราชบุรี ชุดดินท่าพล ชุดดินสระบุรี บางมูลนาค

กลุ่มดินที่ 5 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนมีสีเทาแก่ ดินล่างมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทามีจุดประสีน้ำตาล และสีเหลืองหรือสีแดงตลอดชั้นดิน มีการพบก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีสปะปนอยู่และในชั้นดินล่าง ลึก ๆ อาจพบก้อนปน กลุ่มดินนี้เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ เป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลวพบบริเวณพื้นที่ราบเรียบดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็น กรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5 – 6.5 แต่ถ้าดินมีก้อนปูนปะปนในดินชั้นล่าง ดินชั้นนี้จะมีปฏิกิริยาเป็นด่างอ่อนหรือมีค่าความ เป็นกรดเป็นด่างประมาณ 7.5 – 8.0 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำใช้ปลูกพืชไร่พืชผัก และยาสูบในช่วงฤดูแล้งข้าวที่ปลูก โดยมากให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินหางดง ชุดดินพาน ชุดดินละงู

กลุ่มดินที่ 7 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว มีสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา พบจุดปะสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดง ปะปนตลอดชั้นดิน กลุ่มดินนี้เกิดจาก วัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำเป็นดินลึก มีการระบายน้ำค่อนข้างเลว พบบริเวณที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ปานกลางปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0 – 7.0 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าว ส่วนใหญ่ใช้ทำนา ถ้าหากมี การชลประทานและการจัดการที่ดินสามารถทำนาได้ 2 ครั้ง ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินนครปฐม ชุดดินผักกาด ชุดดินอุตรดิตถ์ ชุดดินท่าตูม ชุดดินเดิมบาง ชุดดินสุโขทัย ชุดดินพิจิตร

กลุ่มดินที่ 15 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งดินบนมีสีน้ำตาลปนเทา ดินล่างสีน้ำตาลหรือสีเทาปนชมพูพบ จุดประสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปนเหลืองตลอดชั้นดิน ในดินชั้นล่างมักพบก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีส กลุ่มดินนี้เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวก ตะกอนลำน้ำ พบบริเวณพื้นที่ราบเรียบเป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำค่อนข้างเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง มีค่าความเป็น กรดเป็นด่าง ประมาณ 6.0 - 7.5 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของหน่วยแผนที่นี้ โดยทั่วไปไม่มี แม้บางแห่งดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ แต่พอปรับปรุงได้ไม่ยาก ปัจจุบัน บริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา ในฤดูทำนาแล้งบริเวณใกล้แหล่งน้ำใช้ปลูกยาสูบ พืชผัก ต่าง ๆ หรือพืชไร่บางชนิด ถ้ามีระบบชลประทานใช้ทำนาได้ 2 ครั้งในรอบปี ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินแม่สาย ชุดดินน่าน ชุดดินหล่มสัก ชุดดินแม่ทะ ชุดดินเฉลียงลับ และชุดดินลับแล

กลุ่มดินที่ 16 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทรายแป้ง สีดินสีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลปนเทา และมีจุดประสีน้ำตาลเข้ม สีเหลือง หรือสีแดง ในดินชั้นล่าง ในบางกรณีอาจพบก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็ก และแมงกานีสปะปน กลุ่มดินนี้เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ พบบริเวณพื้นที่ราบ เรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึกมากมีการระบายน้ำเลว มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำหรือค่อนข้างต่ำปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.0 – 6.0 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของหน่วยแผนที่นี้โดยทั่วไป ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และหน้าดินทึบแน่น ทำให้ข้าวแตกกอได้ยาก ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา ตัวอย่างดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินหินกอง ชุดดินศรีเทพ ชุดดินลำปาง ชุดดินพานทอง ชุดดินเกาะใหญ่

กลุ่มดินที่ 17 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินบนเป็นพวกดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวมีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีเทา พบจุดประพวกสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปน บางแห่งอาจพบศิลาแลงอ่อนหรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีสในดินชั้นล่าง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ พบบริเวณพื้นที่ราบ เรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึกมาก ส่วนใหญ่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดแก่ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5 – 5.5 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของหน่วยแผนที่นี้ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และมีเนื้อดินบนค่อน ข้างเป็นทราย ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา บางแห่งใช้ปลูกพืชไร่ หรือไม้ยืนต้นแต่มีปัญหาเรื่องการแช่ขังของน้ำในฤดูฝน

ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินหล่มเก่า ชุดดินร้อยเอ็ด ชุดดินเรณู ชุดดินสายบุรี ชุดดินสุไหงปาดี ชุดดินโคกเคียน ชุดดินวิสัย ชุดดินสงขลา ชุดดินบุณฑริก

กลุ่มดินที่ 19 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินเหนียวที่มีสีน้ำตาลอ่อน และสีเทามีจุดประสีเหลืองหรือสีน้ำตาลแดง บางแห่งอาจมีศิลาแลงอ่อนปะปนอยู่ เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ พบบริเวณพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึก ส่วนใหญ่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดแก่ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 4.5 – 5.5 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของหน่วยแผนที่นี้ได้แก่ เนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทราย และดินล่างแน่นทึบไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช ถ้ามีฝนตกลงมาดินจะมีน้ำแช่ขัง แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงดินจะขาดน้ำ ปัจจุบันพื้นที่นี้มักปล่อย เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเป็นห่าละเมาะเล็ก ๆ มีเป็นส่วนน้อยใช้ทำนา แต่มักให้ผลผลิตต่ำ ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินวิเชียรบุรี ชุดดินมะขาม

กลุ่มดินที่ 21 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วน มีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน พบจุดประสีเทา สีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเหลืองตลอดชั้นดิน ส่วนใหญ่จะมีแร่ไมก้าปะปนอยู่ด้วย เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ พบบนส่วนต่ำของสันดินริมน้ำ มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบเป็นดินลึก การระบายน้ำดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5 – 7.0 มักใช้ทำนา ดินอาจขาดแคลนน้ำได้มากในฤดูแล้ง ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินสรรพยา ชุดดินเพชรบุรี

กลุ่มดินที่ 28 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวจัด ในดินชั้นกลางลึก ๆ อาจพบชั้นปูนมาร์ลสีดินเป็นสีดำสีเทาเข้ม หรือสีน้ำตาล อาจพบจุดประสีน้ำตาล หรือสีแดงปนน้ำตาล แต่พบเป็นปริมาณเล็กน้อยในช่วงดินชั้นบนมีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ บริเวณเทือกเขาหินปูนหรือพวกหินภูเขาไฟ เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงสูง ปฏิกิริยาของดินส่วนใหญ่จะเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 7.0 – 8.0 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มดินชุดนี้ ได้แก่ เนื้อดินเหนียวจัดการไถพรวนต้องทำในช่วงที่ดินมีความชื้นเฉพาะพอเหมาะ มิฉะนั้น จะทำให้ดินแน่นทึบ ในช่วงฤดูแล้งดินมีการหดตัวทำให้ดินแตกระแหงเป็นร่องลึก ส่วนใหญ่ฤดูฝนจะมีน้ำแช่ขังง่าย ทำให้พื้นชะงักการเจริญเติบโต ปัจจุบัน บริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วต่าง ๆ ฝ้าย และผลไม้บางชนิด ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินชัยบาดาล ชุดดินลพบุรี ชุดดินดงลาน ชุดดินบุรีรัมย์ ชุดดินวังชมพู ชุดดินน้ำเลน ชุดดินสมอทอด

กลุ่มชุดดินที่ 29 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดพวกตะกอนลำน้ำ หรือเกิดจาก การสลายตัวผุพังของหินหลายชนิดที่มีเนื้อละเอียด พบบริเวณที่ดอนที่เป็นลูกคลื่นจนไปถึงเนินเขาเป็นดินลึกมีการระบายน้ำดีมีความอุดมสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติค่อนข้างต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดถึงกรดจัดเป็นกรดแก่ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5 – 5.5 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ของหน่วยแผนที่นี้ได้แก่ บางแห่งดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำในช่วงฤดูเพาะปลูกพืชอาจขาดน้ำได้หากฝนทิ้งช่วงไปเป็นระยะเวลานาน ส่วนในบริเวณ ที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่และไม้ผลต่าง ๆ มีส่วนน้อยที่ยังคงสภาพป่าธรรมชาติ ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินบ้านจ้อง ชุดดินเชียงของ ชุดดินหนองมด ชุดดินแม่แตง ชุดดินปากช่อง ชุดดินห้างฉัตร ชุดดินเขาใหญ่ ชุดดินโชคชัย ชุดดินสูงเนิน

กลุ่มดินที่ 31 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลือง และสีแดง เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินหลายชนิด พบบริเวณพื้นที่ดอนที่เป็นลูกคลื่นลอนดอน ถึงดอนชัน เป็นดินลึกมีการระบายน้ำดีปานกลางถึงดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5 – 6.5 ปัญหาในการใช้ประโยชน์มีของดินกลุ่มนี้ได้แก่ บริเวณที่มีความลาดชันจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่ไม้ผลต่าง ๆ มีส่วนน้อยที่ยังคงสภาพป่าธรรมชาติ ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินเลย ชุดดินวังไฮ

กลุ่มดินที่ 33 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทรายแป้ง สีดินเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง บางแห่งเป็นดินล่างลึก ๆ มีจุดประสีเทาและสีน้ำตาล อาจมีแร่ไมก้าหรือก้อนปูนปะปนอยู่ด้วย เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำพบบนสันดินริมน้ำเก่าและเนินตะกอนรูปพัด มีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินลึกมากมีการระบายน้ำดีถึงปานกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ดินชั้นบนมักมีปฏิกิริยาเป็นกรดปานกลาง ถึงเป็นกรดเล็กน้อยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.5 – 6.5 ส่วนดินล่างมักมีความเป็นกรดน้อยกว่าถ้ามีก้อนปูนปะปนค่าความเป็นกรด เป็นด่างประมาณ 7.5 – 8.00 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่ต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด อ้อย ฝ้าย ยาสูบ ถั่วต่าง ๆ และสัปปะรด บางแห่งใช้ปลูกไม้ผลหรือ เป็นที่อยู่อาศัย ดินกลุ่มนี้ไม่มีปัญหาในการใช้ประโยชน์ ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ชุดดินดงยางเลน ชุดดินกำแพงแสน ชุดดินกำแพงเพชร ชุดดินธาตุพนม ชุดดินตะพานหิน ชุดดินน้ำดุก ชุดดินลำสนธิ

กลุ่มดินที่ 35 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีแดง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดิน พวกตะกอนลำน้ำ หรือเกิดจากการสลายตัวผุพังของหินเนื้อหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอนที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นจนถึงลาดเชิงเขาเป็นกรดแก่ถึงกรดปานกลาง เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดแก่ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5 – 5.5 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของดินกลุ่มนี้ ได้แก่ เนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทรายและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในบริเวณที่มีความลาดชันจะมีปัญหา เกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่ต่าง ๆ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ปอ งา และถั่ว บางแห่งใช้ปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้นบางชนิด ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ชุดดินดอนไร่ ชุดดินมาบบอน ชุดดินโคราช ชุดดินสะตึก ชุดดินวาริน ชุดดินยโสธร ชุดดินด่านซ้าย

กลุ่มดินที่ 36 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวปนดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีแดง ส่วนมากเกิด จากการสลายตัวผุพังของหินเนื้อหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอนที่เป็นลูกคลื่นดอนลาดถึงลาดชัน เป็นดินลึก มีการระบายน้ำค่อนข้างดี มีความอุดมสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ดินชั้นบนส่วนมากจะมีปฏิกิริยาเป็นกรดแก่ถึงกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0 – 7.5 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่ต่าง ๆ เช่น อ้อย ข้าวโพด ถั่ว สับปะรด และไม้ผลบางชนิด ปัญหาเท่าที่พบได้แก่ ชุดดินศรีราชา ชุดดินสีคิ้ว ชุดดินเพชรบูรณ์ ชุดดินปราณบุรี

กลุ่มดินที่ 46 เป็นกลุ่มดินที่ส่วนใหญ่เป็นเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวปนกรวดหรือปนลูกรัง สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดง พบบริเวณพื้นที่ดอน ที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น เป็นดินตื้นมาก มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินค่อนข้างเป็นกรด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0 – 6.5 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มดินนี้ได้แก่ เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับ การชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่บางชนิด เช่น มันสำปะหลัง อ้อย และปอ บางแห่งเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติและป่าละเมาะ หรือมีการปลูกป่าทดแทน ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินเชียงราย ชุดดินกบินทร์บุรี ชุดดินสุรินทร์ ชุดดินโป่งทอง

กลุ่มดินที่ 47 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินร่วนที่มีเศษหินปะปนมาก มักพบชั้นหินพื้นตื้นกว่า 50 ซม. สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดง เกิดจากการสลายตัวผุพังของดินเนื้อละเอียด มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นดอนลาดถึงเนินเขา เป็นดินตื้น มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติต่ำถึงปานกลางปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5 – 7.0 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ของกลุ่มนี้ได้แก่ เป็นดินพื้นมีเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินเป็นปริมาณในบริเวณที่มีความลาดชันสูง มีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดินอย่างรุนแรง ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือป่าละเมาะบางแห่งใช้ทำไร่เลื่อนลอย หรือปลูกป่าทดแทน ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินลี้ ชุดดินมวกเหล็ก ชุดดินโคกปรือ ชุดดินนครสวรรค์ ชุดดินหินซ้อน ชุดดินท่าลี้ ชุดดินสบปราบ ชุดดินโป่งน้ำร้อน ชุดดินไพสาลี ชุดดินง้าว

กลุ่มดินที่ 48 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินบนส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินปนเศษหิน หรือปนกรวดก้อนกรวดส่วนใหญ่เป็นดินหินกลมมน ถ้าเป็นดินปนเศษหินมักพบชั้นหินตื้นกว่า 50 ซม. สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดง พบบริเวณพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชันจนถึงเนินเขา เป็นดินตื้นมาก มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0 – 6.0 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ของกลุ่มดินนี้ได้แก่ ดินตื้นมาก บริเวณที่มีความลาดชันสูงเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่ายนอกจากนั้น ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำอีกด้วย ปัจจุบันบริเวณดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ และทุ่งหญ้าธรรมชาติ บางแห่งใช้ปลูกพืชไร่ หรือไม้โตเร็ว ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินท่ายาง ชุดดินแม่ริม ชุดดินพะเยา ชุดดินน้ำชุน ชุดดินนา เฉลียง

กลุ่มดินที่ 49 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินเหนียวปนลูกรัง หรือเศษหินทราย สีดินเป็นสีน้ำตาลหรือสีเหลือง ใต้ลงไปเป็น ดินเหนียวสีเทามีจุดประสีน้ำตาล สีแดง และศิลาแลงอ่อนปะปนอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก อาจพบชั้นหินทรายหรือหินดินดานที่ผุพังทลายตัวอยู่ในชั้นถัดไปพบ บริเวณ พื้นที่ดอนมีลักษณะเป็นลูกคลื่น เป็นดินตื้นถึงตื้นมาก มีการระบายน้ำดีปานกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินค่อนข้างเป็นกรวด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0 – 6.5 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มนี้ ได้แก่ เป็นดินตื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บางแห่งมีก้อน ศิลาแลงโผล่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปเป็นอุปสรรคต่อเขตบริเวณที่มีความลาดชันสูง มีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดินอย่างรุนแรง ปัจจุบันบริเวณ ดังกล่าว ใช้ปลูกพืชไร่ ทุ่งหญ้าธรรมชาติ ที่รกร้างว่างเปล่า ป่าเต็งรัง หรือใช้ปลูกไม้โตเร็ว ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินโพนพิสัย ชุดดินสกลนคร

กลุ่มดินที่ 52 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวที่มีก้อนปูนหรือปูนมาร์ลปะปนอยู่มาก สีดินเป็นสีดำ สีน้ำตาลหรือสีแดง พบบริเวณ ที่ลาดเชิงเขาหินปูนเป็นดินตื้นถึงตื้นมาก มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ปานกลางถึงสูง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างแก่ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 7.0 – 8.5 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่ เช่น ฝ้าย ข้าวโพด ถั่ว และไม้ผลบางชนิด เช่น มะม่วง มะพร้าว และน้อยหน่า ถ้าในกรณีที่พบชั้นปูนมาร์ล ในระดับความลึกกว่า 25 ซม. หากนำมาใช้ปลูกพืชไร่ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดินจะมีน้อย แต่ถ้าพบชั้นปูนมาร์ล ตื้นกว่า 25 ซม. จะมีปัญหาในเรื่อง การไถพรวน ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินตาคลี ชุดดินบึงชะนัง

กลุ่มดินที่ 54 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว โดยปกติจะมีก้อนปูนหรือเศษหินที่กำลังผุพังสลายตัวปะปนอยู่ในเนื้อดินด้วย สีดินเป็นสีเทาเข้มหรือ น้ำตาลปนแดง ชั้นดินล่างอาจมีจุดประสีเหลืองหรือสีแดง พบบริเวณพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด หรือลูกคลื่นลอนชันเป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ำดีถึง ปานกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง มีการระบายน้ำดีถึงปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็น ด่างประมาณ 6.5 – 8.0 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ของกลุ่มดินนี้ได้แก่ บริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง จะเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง ปอ และถั่ว ไม้ผลบางชนิด ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินสมอทอด ชุดดินลำนารายณ์ ชุดดินลำพญากลาง

กลุ่มดินที่ 55 เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ในดินชั้นล่างความลึกประมาณ 50 – 100 ซม. พบชั้นหินผุซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียด บางแห่งที่มีก้อนปูนปะปนอยู่ด้วยสีดินเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินเป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดมีปูนปน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ถึงลูกคลื่นลอนลาดเป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ำดี ถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงด่างอ่อน มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.5 – 7.5 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มดินนี้ได้แก่ ดินมีโครงสร้างแน่นทึบ ยากต่อการไชชอนของรากพืช มักเกิดชั้นดานไถพรวนในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่บางชนิด เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย กล้วย บางแห่งเป็นป่าละเมาะ หญ้าเพ็กปละไผ่ ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินวังสะพุง ชุดดินจตุรัส

กลุ่มดินที่ 56 เป็นกลุ่มดินที่เนื้อดินช่วง 50 ซม. ตอนบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินปนเศษหิน สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกหินตะกอนเนื้อหยาบ หรือหินอัคนีเนื้อหยาบ พบบนสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขาเป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ำดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดแก่ถึงกรดปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0 – 6.0 ปัจจุบันดินนี้ส่วนใหญ่จะถูก นำมาใช้ในการปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีปัญหาเรื่องดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ และอาจจะเกิดการชะล้าง พังทลายได้ง่าย ถ้าปลูกพืชในบริเวณที่มีความลาดชัน มาก ๆ โดยทั่วไปไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินลาดหญ้า ชุดดินโพนงาม และชุดดินภูสะนา

กลุ่มดินที่ 62 เป็นกลุ่มดินที่ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 % ดินที่พบในบริเวณดังกล่าว มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหินก้อนดินหรือหิน พื้นโผล่กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่าง ๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือป่าดงดิบชื้น หลายแห่งมีการทำไร่เลื่อนลอย โดย ปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินจนบางแห่งเหลือแต่หินพื้นโผล่

กลุ่มดินนี้ ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร กลุ่มดินชุดนี้ในแผนที่ระดับจังหวัดเรียกว่า " ที่ลาดชันเชิงซ้อน "

กลุ่มดินในจังหวัดเพชรบูรณ์ แบ่งตามตำบลในอำเภอต่าง ๆ มีดังนี้
อำเภอเมือง
ตำบลต่าง ๆ กลุ่มดินที่พบ ได้แก่
1. ต. ป่าเลา
กลุ่มดินที่ 4 , 7 , 17 , 28 (B/C/D/E) , 29 (D/E) , 33 (B) , 35 (D/E) , 36 (B/C) , 47 (B/C/D/E) และ 62
รวม 10 กลุ่มดิน

2. ต. สะเดียง
กลุ่มดินที่ 3 , 4 , 7 , 15 , 17 , 21 , 28 (B) , 29 (C) , 35 (B), 36 (B) , 47 (D) , 48 และ 62
รวม 13 กลุ่มดิน


3. ต. บ้านโตก
กลุ่มดินที่ 1 , 3 , 4 , 7 , 15 , 17 , 28 (B/C/D/E) , 33 (B) ,35 (B) , 36 (B) , 47 (C/D/E) , 48 (B) , 54 , 55 (C/D) และ 62
รวม 15 กลุ่มดิน

4. ต. วังชมภู
กลุ่มดินที่ 4 , 5 , 7 , 17 , 21 , 28 (B/C/D/E) , 33 , 35 (B) ,36 (B) , 47 (B/C/D/E) , 48 (B) , 54 (B) , 55 (C/D) และ62
รวม 14 กลุ่มดิน

5. ต. ห้วยสะแก
กลุ่มดินที่ 3 , 4 , 7 , 15 , 17 , 21 , 28 (B/C/D) , 29 (B) ,35 (B) , 36 (B) , 47 (B/E) , 48 (B) , 55 (B) และ 62
รวม 14 กลุ่มดิน

6. ต. ระวิง
กลุ่มดินที่ 3 , 4 , 7 , 15 , 17 , 21 , 35 (B/C) , 47 (D) , 48 (C) และ 62
รวม 10 กลุ่มดิน

7. ต. นายม
กลุ่มดินที่ 3 , 4 , 5 , 7 , 15 , 17 , 21 , 28 (B/C/D) , 29 (C),31 (B) , 33 , 35 (B) , 36 (B) , 47 (C/D/E) , 48 (B/C),54 (B) , 55 (B/C) และ 62
รวม 18 กลุ่มดิน

8. ต. ตะเบาะ
กลุ่มดินที่ 1 , 7 , 28 (B/E) , 33 (B) , 35 (B) , 36 (B) ,(B/C/D/E) , 55 (B) และ 62
รวม 9 กลุ่มดิน

9. ต. น้ำร้อน
กลุ่มดินที่ 4 , 7 , 15 , 28 (B/C/E) , 29 (C) , 36 (B) ,(C/D/E) , 48 (B) , 55 (B/C/D) และ 62
รวม 10 กลุ่มดิน

10. ต. ชอนไพร
กลุ่มดินที่ 3 , 4 , 7 , 15 , 28 (B) , 33 และ 36 (B)
รวม 7 กลุ่มดิน

11. ต. นาป่า
กลุ่มดินที่ 3 , 4 , 7 , 15 , 28 (B) , 29 (B) , 31 (B) , 33 (B) , 36 (B) , 47 (C/D/E) , 48 (B/C/D/E) , 55 (C) และ 62
รวม 13 กลุ่มดิน

12. ต. บ้านโคก
กลุ่มดินที่ 4 , 7 , 15 , 28 (B/C) , 29 (B) , 33 , 36 (B) ,47 (E) , 48 (B/C) , 55 (B) และ 62
รวม 11 กลุ่มดิน

13. ต. ห้วยใหญ่
กลุ่มดินที่ 7 , 15 , 17 , 28 (B/C) , 29 (B) , 33 (B) , (B) , 47 (B/C/D/E) , 55 (B/D) และ 62
รวม 10 กลุ่มดิน

14. ต. ดงมูลเหล็ก
กลุ่มดินที่ 3 , 4 , 7 , 15 , 17 , 21 และ 28 (B)
รวม 7 กลุ่มดิน

15. ต. ท่าพล
กลุ่มดินที่ 4 , 7 , 15 , 28 (B) , 29 (B) , 33 , 35 (B) ,36 (B/C) , 47 (D/E) , 48 (B) , 55 (B) และ 62
รวม 12 กลุ่มดิน

16. ต. นางั่ว
กลุ่มดินที่ 4 , 7 , 15 , 21 , 28 (B) , 35 (B) , 36 (B) ,47 (B/D/E) , 48 (C) และ 62
รวม 10 กลุ่มดิน

อำเภอเขาค้อ
ตำบลต่าง ๆ กลุ่มดินที่พบ ได้แก่
1. ต. แคมป์สน
กลุ่มดินที่ 29 (B/D/E) , 31 (B/C/D/E) 35 (D) , 47 (D/E) , 56 (E) และ 62
รวม 6 กลุ่มดิน

2. ต. ทุ่งสมอ
กลุ่มดินที่ 7 , 29 (B/E) , 31 (E) และ 62
รวม 4 กลุ่มดิน

3. ต. เขาค้อ
กลุ่มดินที่ 28 (C/D/E) , 29 (B/D/E) , 31 (D/E) ,(B) , 35 (C/D/E) , 47 (D/E) , 55 (D/E) , (D/E) และ 62
รวม 9 กลุ่มดิน