ประวัติ
            สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์    มีเนื้อที่ 576  ไร่    ตั้งอยู่บนถนน
สายสระบุรี- หล่มสัก บนทางหลวงหมายเลข  21  อยู่ห่างจากตัวจังหวัด
เพชรบูรณ์ไปทางอำเภอหล่มสัก ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 4-5 ปัจจุบันตั้ง
อยู่เลขที่  45 หมู่ที่ 11  ตำบลสะเดียง  อำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบูรณ์
             พ.ศ. 2511  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงพัฒนาแห่งชาติ  มีนโย
บายที่จะขยายขอบข่ายงานออกสู่ภูมิภาค เพชรบูรณ์ก็อยู่ในเป้าหมายของ
กรมด้วย  ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้คณะทำงานออกสำรวจและความเป็น
ไปได้ที่จะหาสถานที่ที่เหมาะสมในการสร้างหน่วยงานที่เรียกว่า " ศูนย์
อนุรักษ์ดินและน้ำ"     คณะทำงานจากกรมพัฒนาที่ดินได้เริ่มออกปฏิบัติ
งานโดยการเปิดป่า   และวางแผนผังตัวอาคารบ้านพัก ระบบการอนุรักษ์
ดินและน้ำ

              พ.ศ. 2513 สถานที่ราชการแห่งใหม่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ 

ได้เปิดเปิดอย่างเป็นทางการ  มีชื่อว่า   "ศูนย์อนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัด

เพชรบูรณ์ " กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ

               ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาให้แบ่งส่วนราชการใหม่  ในกรม

พัฒนาที่ดิน  เมื่อปี พ.ศ.2527 ศูนย์อนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเพชรบูรณ์ 

 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานพัฒนา

ที่ดินเขต  8 (พิษณุโลก) กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 
 
 
 
 
สภาพทั่วไปของจังหวัดเพชรบูรณ์
             จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ประมาณ   เส้นรุ้งที่  16  องศาเหนือ   กับเส้นแวง  101 องศาตะวันออก ส่วนกว้างของจังหวัดเพชรบูรณ์   วัดจากด้านตะวันออกถึงตะวันตก  ยาว  55
กิโลเมตร ส่วนยาวที่สุด  วัดจากทางด้านเหนือสุดถึงใต้ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ยาว 296 กิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 115 เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 346 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 21 รวมเนื้อที่
ที่ทั้งหมดของจังหวัดเพชรบูรณ์ 7,917,760 ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  11  อำเภอ   117  ตำบล   รวมเทศบาลตำบลในเมือง และเทศบาลอำเภอหล่มสัก  รวม 1,330 หมู่บ้าน ประชากร 1,027 ,767 คน
( จากหนังสือทำเนียบตำบลหมู่บ้าน จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2545 :ฝ่ายปกครองจังหวัดเพชรบูรณ์)
อาณาเขต
               ทิศเหนือ                ติดกับจังหวัดเลย
               ทิศใต้                    ติดกับจังหวัดลพบุรี
               ทิศตะวันออก         ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดขอนแก่น
              ทิศตะวันตก           ติดกับจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร
                                            และจังหวัดนครสวรรค์
สภาพของทรัพยากรดินในจังหวัดเพชรบูรณ์
                ดินที่พบในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีความหลากหลายตามสภาพภูมิประเทศ วัตถุ ต้นกำเนิดขบวนการกำเนิด ตลอดจนประวัติการใช้ที่ดินซึ่งพอสรุปตามศักยภาพและปัญหาด้านการเกษตรได้ดังนี้
        1. ดินบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง  ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นเนื้อดินละเอียด  เป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลวถึงค่อนข้างเลว ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินปานกลางถึงสูง ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูงการใช้ประโยชน์ส่วน
ใหญ่ใช้ทำนา
        2. ดินบริเวณสันดินริมน้ำ พบบริเวณริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก มีการระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดีที่สุดเนื้อดินเป็นร่วน มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง ส่วนใหญ่ใช้ทำสวน ผลไม้ พืชไร่ และเป็นที่ตั้งบ้านเรือน ตลอดจนเป็นที่ตั้งอำเภอ
และจังหวัด
        3. ดินบริเวณพื้นที่ราบ เกิดจากการพัดพาและทับถมของตะกอนที่มากับน้ำ  ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ราบ  บริเวณกว้างทั้งสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก สภาพพื้นที่สูงกว่าบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง และมีพื้นที่ติดต่อกัน โดยพื้นที่ราบจะมีระดับ
ความสูงเพิ่มขึ้น เมื่อยู่ห่างแม่น้ำป่าสักออกไป เมื่อใกล้พื้นที่ภูเขาสภาพพื้นที่จะเปลี่ยนเป็นสภาพลูกคลื่น พื้นที่เหล่านี้ยังคงใช้ทำนา ปลูกข้าว เป็นพืชหลัก
        4. สภาพพื้นที่ลูกคลื่น เป็นดินที่มีความลาดชันแบบลูกคลื่นลอนลาด เป็นถึงลูกคลื่นลอนชัน เกิดจาอิทธิพลของตะกอนลำน้ำเป็นส่วนใหญ่  ในบางบริเวณดินเกิดจาก วัตถุหินต้นกำเนิดที่มีการสลายตัวของหินต้นกำเนิดแบบอยู่กับ
ที่ หรือมีการเคลื่อนย้ายระยะสั้น แต่ยังอยู่ในบริเวณหินต้นกำเนิดชนิดเดียวกัน ในพื้นที่ส่วนนี้จะประกอบด้วยดินหลายชนิด ที่มีศักยภาพแตกต่างกันมาก โดยทั่วไปปลูกพืชไร่ ไม้ผล หรือเป็นพื้นที่ป่าไม้ ป่าละเมาะ ฯลฯ
        5. ดินบริเวณพื้นที่ภูเขา พื้นที่เปล่านี้มีความลาดชันตั้งแต่ 35% ขึ้นไป ประกอบด้วยหินหลายชนิด เมื่อสลายตัว จึงให้กำเนิดดินที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน มีทั้งดินลึกและดินตื้น มีเนื้อดินปานกลางถึงละเอียด ในอดีตเป็นบริเวณ
ที่เป็นป่าธรรมชาติ ในปัจจุบัน ป่าไม้ได้ถูกทำลายลงไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณดินที่มีศักยภาพทางการเกษตร การปลูกผัก พืชไร่ และไม้ผล พบโดยทั่วไปในบริเวณพื้นที่นี้
..............................................................................................................
 
ที่มา : แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์
 กองวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์