การใช้ประยชน์ที่ดินจังหวัดพิจิตร
สภาพดินในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
สภาพดินโดยทั่วไป
       ลักษณะเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวร้อยละ 45  ดินร่วนร้อยละ 20  ดินเหนียวปนทรายร้อยละ 18  ดินร่วนปนทรายร้อยละ 11  ดินทรายร้อยละ 4  ดินทรายดินล่างเหนียวร้อยละ 3
แหล่งน้ำและระบบชลประทานในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
สภาพแหล่งน้ำโดยทั่วไป
       แหล่งน้ำธรรมชาติ จังหวัดพิจิครมีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่าน 3 สายได้แก่
1.  แม่น้ำน่าน มีต้นน้ำจากดอยภูแวในทิวเขาหลวงพระบาง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอปัว จังหวัดน่าน แม่น้ำน่านไหลผ่านที่ตั้งตัวจังหวัดพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก และลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ มีความยาวทั้งสิ้น 97 กิโลเมตร มีพื้นที่ในลุ่มน้ำน่านประมาณ 2,602 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,626,250 ไร่
2.  แม่ย้ำยม  มีต้นกำเนิดในขุนยวมทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอปง จังหวัดเชียงราย แม่น้ำยมไหลผ่านเข้าจังหวัดพิจิตรที่อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอโพทะเล โดยไหลไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่บ้านเกยชัย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีความยาวทั้งสิ้น 124 กิโลเมตร มีพื้นที่ในลุ่มน้ำน่านประมาณ 2,046 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,278,750 ไร่
3.  แม่น้ำพิจิตร คือทางเดินเก่าของแม่น้ำน่าน ต้นกำเนิดของแม่น้ำพิจิตรนั้นไหลแยกจากแม่น้ำน่านที่บ้านวังกระดี่ทอง ในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร มีทิศทางการไหลของน้ำอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ สภาพลำน้ำคดเคี้ยว บางแห่งร่องน้ำตื้นเขินและแห้งในฤดูแล้ง เนื่องจากมีฝ่ายกั้นน้ำไว้เป็นช่วงๆ เพื่อสูบขึ้นมาใช้ทำสวนผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะส้มโอในเขตโพธิ์ประทับช้าง
ระบบชลประทานและพื้นที่รับน้ำชลประทาน
       จังหวัดพิจิตรได้รับประโยชน์จากโครงการชลประทานจำนวน 1,435,523.29 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 50.69 ไร่ของเนื้อที่ของจังหวัด โดยมีรายละเอียดดังนี้
       1. โครงการชลประทานขนาดใหญ่ จังหวัดพิจิตรได้รับน้ำชลประทานในระหว่างแม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน โดยสามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกในจังหวัดพิจิตรได้ประมาณ 371,127.29 ไร่ ซึ่งโครงการชลประทานขนาดใหญ่แบ่งเป็น 3 โครงการในพื้นทีต่างๆ ดังนี้ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดงเศรษฐี 185,280 ไร่(ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก กิ่งอำเภอบึงนารอง) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าบัว 158,906 ไร่(ครอบลคุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก) และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพลายชุมพล 26,941.29 ไร่(ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอสามง่าม)
       2. โครงการชลประทานขนาดกลาง จังหวัดพิจิตรพัฒนาแหล่งน้ำโครงการชลประทานขนาดกลางที่สร้างเสร็จแล้วถึงปี 2545 รวมทั้งหมด 13 โครงการ จำนวนพื้นที่ได้รับประโยชน์แก่พื้นที่เพาะปลูก 176,000 ไร่
       3. โครงการส่งน้ำด้วยไฟฟ้า กรมชลประทานได้จัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าในจังหวัดพิจิตร 50 สถานี พื้นที่โครงการ 121,780 ไร่ และพื้นที่ส่งน้ำที่ได้รับประโยชน์ในการปลูกพืชจำนวน 94,860 ไร่
       4. โครงการชลประทานขนาดเล็กและโครงการเกี่ยวกับแหล่งน้ำอื่นๆ อีกจำนวน 659 โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ 766,607 ไร่
ระบบการผลิตและพืชเศรษฐกิจในจังหวัดพิจิตร
พืชเศรษฐกิจ
       พืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในจังหวัดพิจิตรได้แก่ ข้าว, ข้าวโพด, อ้อยและมะม่วงเป็นต้น ซึ่งมีผลผลิตทั้งหมด 1,349,469 ตัน โดยพืชที่สร้างมูลค่าผลผลิตให้กับจังหวัดมากที่สุดคือ ข้าวนาปี รองลงมาคือข้าวนาปรัง
การผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
พันธุ์ข้าว
       พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรปลูกมีความหลากหลายถึง 19 พันธุ์ส่วนใหญ่ 67% เป็นพันธุ์ข้าวประเภทไม่ไวต่อช่วงแสงและอีก 33% เป็นพันธุ์ข้าวประเภทไวต่อช่วงแสง พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดคือ สุพรรณบุรี 1(54%) รองลงมาคือ ขาวดอกมะลิ 105(22%) ชัยนาท 1(6%) และพันธุ์อื่นๆ
ผลผลิต
       เกษตรกรได้ผลผลิตข้าวมากกว่า 550 กิโลกรัมต่อไร่ร้อยละ 57 ผลผลิต 450-550 กิโลกรัมต่อไร่ร้อยละ12 ผลผลิต 350-450 กิโลกรัมต่อไร่ร้อยละ8 และผลผลิตน้อยกว่า 350 กิโลกรัมต่อไร่ร้อยละ5
ผลกระทบต่อการผลิตการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
1. ผลกระทบจากสภาพแวดล้อม 2. ผลกระทบจากสภาพแล้ง 3. ผลกระทบจากสภาพน้ำท่วม
ผลกระทบจากโรคและแมลง
ศัตรูข้าวที่ระบาดในนาเกษตรกรมากที่สุดเป็นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลร้อยละ 55 หนอนห่อใบข้าวร้อยละ 21 หนอนกอร้อยละ 9 หอยเชอรี่ร้อยละ 4และศัตรูข้าวอื่นๆ
1. ปัญหาจากโรคไหม้ 2. ปัญหาจากเพลี้ยกระโดดหลังขาว