|
|
 |
2. โครงการพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ |
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดาะพง , ตำบลริมสีม่วง , ตำบลเขาค้อ , ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
|
พื้นที่อำเภอเขาค้ออยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดเพชรบูรณ์ ระยะทางห่างจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ประมาณ 45 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ |
ประมาณ 51 กิโลเมตร มีพื้นที่การปกครองประมาณ 1,333 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 833,125 ไร่ |
มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีสภาพแบบลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนสูง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 400 1400 เมตร และยังเป็นแหล่งต้นน้ำที่ |
สำคัญหลายสาย เช่น ลุ่มน้ำเข็ก ลุ่มน้ำวังทอง ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำก้อ-น้ำชุนและลุ่มน้ำป่าสัก |
ในอดีตพื้นที่เขาค้อปกคลุมไปด้วยป่าเขียวชอุ่มตลอดปี ( evergreen forest ) จากการบุกรุกพื้นที่ป่าอย่างกว้างขวางเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ในปัจจุบัน |
พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเป็นภูเขาหัวโล้น มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่เพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกนั้นเป็นพื้นที่ที่บุกรุกมาทำการเกษตร โดยใช้ปลูกพืชไร่ ข้าวโพด ขิง ถั่ว พืชผัก ฯลฯ เนื่องจาก |
พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันค่อนข้างสูง มีปริมาณฝนตกมาก ประกอบ กับเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ อีกทั้งมีการทำไร่เลื่อนลอย และการเผาเศษซาก |
พืชในพื้นที่เพาะปลูก จึงมีผลกระทบทำให้พื้นที่ต้นน้ำเหล่านี้เกิดการชะล้างพังทลายของดินที่รุนแรงตามมา โดยบางพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงๆ ผิวดินขาดสิ่งที่ปกคลุม จะมีการเลื่อน |
ไหลของดิน และในพื้นที่ลาดเทต่ำลงมา จะมีร่องริ้วและร่องลึก ที่เกิดจาการชะล้างพังทลายของดินปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ นอกจากหน้าดินถูกทำลายแล้ว ยัง |
มีผลให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ สมรรถนะในการรักษาความชุ่มชื้นของดินลดลง ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง สภาพแวดล้อมทั้งในพื้นที่นั้นและพื้นที่ตอนล่าง |
เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วมและความแห้งแล้ง |
|
พื้นที่มีปัญหาเรื่องการชะล้างพังทลายและดินเสื่อมโทรม ดินตื้น เนื่องจากเป็นภูเขาสูงชัน และการทำการเกษตรปลูกพืชไร่ ข้าวโพด ข้าวไร่ ผัก ขิง มีการใช้รถแทรกเตอร์ |
ล้อยางไถพรวนขึ้นลงและไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม |
ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
1. ที่ดินเพื่อการเกษตรเสื่อมคุณภาพ |
2. ในฤดูแล้งเกิดไฟป่าอยู่เสมอ เนื่องจากการจุดไฟเผาวัชพืชของเกษตรกร |
3. สภาพป่าลดน้อยลง ทำให้พื้นดินไม่สามารถอุ้มน้ำได้นาน |
4. มีการชะล้างพังทลายของดินสูง |
5. อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปีสูงขึ้น เนื่องจากสภาพนิเวศวิทยาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นป่าไม้ต้นน้ำลำธารกลายเป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรกรรม |
แนวทางการพัฒนาอำเภอเขาค้อ โดยภาพรวม |
1. มุ่งความสำคัญต่อพื้นที่ยากจนก่อนเป็นอันดับแรก |
2. รูปแบบการพัฒนาควรเน้นให้ประชาชน องค์กรประชาชน รวมถึงองค์กรเอกชน ได้มีส่วนร่วมและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ พึ่งตนเองได้ในที่สุด |
3. เร่งรัดให้มีการพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรดิน , น้ำ , ป่าไม้ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
4. เร่งปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค การบริโภค และการเกษตรกรรมให้สามารถใช้การได้อย่างเพียงพอ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ในหมู่ |
บ้านเป้าหมายภัยแล้ง |
5. เร่งปรับปรุงเส้นทางคมนาคมระหว่างตำบล ระหว่างหมู่บ้าน และภายในหมู่บ้าน ให้มีสภาพเหมาะสมแก่การคมนาคมสัญจรตลอดปี |
6. เร่งรัดการจัดหา จัดสร้าง โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของประชาชน |
7. เร่งรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาระบบนิเวศวิทยา และสภาพแวดล้อม |
8. เร่งรณรงค์ให้ความรู้ทางการเมืองแก่องค์กรประชาชน และประชาชนในพื้นที่ |
9. อนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดี ประเพณีของกลุ่มชนต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว |
10.เร่งปรับปรุง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้สอดรับกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ |
|
รวมภาพกิจกรรมที่สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบูรณ์ได้ดำเนินการในโครงการพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ |
|
|
|
|
สภาพพื้นที่อำเภอเขาค้อ หน่วยพัฒนาที่ดินเขาค้อ โครงการพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก |
|
|
|
เป็นที่ศึกษาดูงานของหน่วยงานต่าง ๆ |
จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ |
จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ |
|
|
|
สร้างบ่อดักตะกอนดิน |
สร้องบ่อดักตะกอนดิน |
สาธิตการทำและการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ |
|
|
|
สาธิตการทำและการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ |
ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด |
สาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด |