จากข้อมูลทรัพยากรดินที่สำรวจพบในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ สามารถสรุปปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรดิน  เรียงตามลำดับความสำคัญ และความรุนแรงของปัญหา  พร้อมทั้งแนวทางในการจัดการดินเพื่อแก้ไขปัญหา  ดังนี้

         1.ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน

                  ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของจังหวัดอุตรดิตถ์    ประกอบด้วยพื้นที่ดอน   และพื้นที่สูง  มีเนื้อที่ประมาณ  3,803,887  ไร่  หรือ
ร้อยละ
 
77.64  แบ่งเป็นพื้นที่ดอนที่มีความลาดชัน 2-35 %  ซึ่งใช้ปลูกพืชไร่ และไม้ผล มีเนื้อที่ประมาณ  1,077,860  ไร่ หรือร้อยละ  22.00  และ
ที่สูงชัน
  ความลาดชันมากกว่า 
35 %  ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า  ป่าเสื่อมโทรมและบางแห่งถูกบุกรุกเพื่อทำการเกษตร  มีเนื้อที่ประมาณ  2,726,027  ไร่ หรือ
ร้อยละ
 
55.64  จากสภาพภูมิประเทศที่มีความลาดชันสูง ประกอบกับปริมาณฝนที่ตกชุกในแต่ละปี   และมีการใช้ทรัพยากรดินและป่าไม้ที่ไม่ถูกต้อง
และเหมาะสมล้วนแต่เอื้ออำนวยให้เกิดการ

ชะล้างพังทลายของดินอย่างกว้างขวางและรุนแรง  ผลกระทบของการชะล้างพังทลายของดิน   นอกจากจะทำให้ดินเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ผลผลิตพืชลดลงเนื่องจากการสูญเสียหน้าดินและธาตุอาหารพืชแล้ว  ตะกอนดินที่ถูกชะล้างลงสู่ที่ต่ำจะไปทับถมในพื้นที่ตอนล่าง  ทำให้แม่น้ำลำคลอง  อ่างเก็บ
น้ำและเขื่อนต่าง
  ตื้นเขิน  และเป็นผลต่อเนื่องไปถึงการเกิดภาวะแห้งแล้ง  น้ำท่วมฉับพลัน  และปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย

                    แนวทางการแก้ปัญหาและการจัดการดิน

                     
การนำพื้นที่ที่มีความลาดชันมาใช้ในการปลูกพืช   ควรมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
และลักษณะดิน
  ดังนี้

                            1) ไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ในกรณีที่พื้นที่มีความลาดชันไม่มากนัก (2-5 %)

                            2) ปลูกแถบหญ้าแฝกขวางความลาดเทของพื้นที่เป็นช่วง    ในพื้นที่ที่มีความลาดเท 5 – 12  %  โดยพื้นที่ระหว่างแถบหญ้าแฝกสามารถปลูกพืชไร่ และไม้ผลได้

                            3) ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน   12 - 35 %  ควรมีการจัดทำขั้นบันไดดิน   คูรับน้ำรอบเขา  ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก   เป็นต้น

                            4) วบคุมตะกอนดินที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน  ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยการทำบ่อดักตะกอนดินไว้ตามร่องน้ำหรือ
ลำห้วยเพื่อดักตะกอนดินไว้ไม่ให้ไหลลงสู่ที่ต่ำ

          2.ปัญหาความอุดมสมบูรณ์ต่ำและเสื่อมลง  

                    จากการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์   พบว่า ดินมีระดับความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ
ประมาณ
  1,481,829  ไร่  หรือร้อยละ  30.25  และเนื่องจากมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นระยะเวลายาวนาน  โดยขาดการปรับปรุงบำรุงดิน ประกอบ
กับพื้นที่ส่วนใหญ่มีความ
    ลาดชันสูงทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินอย่างกว้างขวาง  ความอุดมสมบูรณ์และดินจึงเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ

                     แนวทางในการแก้ไขปัญหาและการจัดการดิน

                                การปรับปรุงฟื้นฟูดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและเสื่อมลง  มีหลายรูปแบบดังนี้

                                1)  การปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยพืชสด  ได้แก่  ปอเทือง  ถั่วพุ่ม  โสนอัฟริกัน  เป็นต้น  วิธีการคือหว่านปุ๋ยพืชสด  ลงในพื้นที่  และไถกลบเมื่ออายุประมาณ  45-60  วัน  เป็นวิธีการปรับปรุงบำรุงดินอย่างได้ผลในพื้นที่จำนวนมากและไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง

                                2) การปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยหมัก  (ผลิตจากสารเร่ง  พด.1)  และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ  (ผลิตจากสารเร่ง  พด.2)  เป็นวิธีการ
ปรับปรุงบำรุงดินที่ได้ผลดี
  สามารถช่วยเหลือเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต  ลดค่าใช้จ่าย  และลดการใช้ปุ๋ยเคมีโดยมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก  และมีค่าใช้
จ่ายน้อย
  เกษตรกรสามารถทำใช้เองได้

          3. ปัญหาดินตื้นมีเศษหินและลูกรังปะปนในเนื้อดิน

           มีเนื้อที่ประมาณ 746,622  ไร่หรือร้อยละ 15.24 ได้แก่กลุ่มชุดดินที่  25, 46, 47, 48  และ 49 ดินเหล่านี้นอกจากจะมีความอุดมสมบูรณ์
ต่ำแล้วคุณสมบัติทางด้านกายภาพก็ยังเป็นข้อจำกัดในการเจริญเติบโตของพืช  
 คือเป็นดินตื้นมีเศษหินหรือลูกรังปะปนในเนื้อดิน  เป็นอุปสรรคในการ
ไชชอนหาอาหารของรากพืช

                        แนวทางในการแก้ไขปัญหาและการจัดการดิน

                                1)  เลือกชนิดพืชให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของดิน  โดยต้องเป็นพื้นที่ทนแล้งได้ดี  ได้แก่  พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ

                               2) ปรับปรุงโครงสร้างของดิน โดยเฉพาะชั้นดินที่มีเศษหินและก้อนกรวดปะปน โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก
และปุ๋ยชีวภาพ  จะช่วยให้ชั้นดินที่มีกรวดหินมีเนื้อดินเพิ่มขึ้นเพิ่มความร่วนซุยในชั้นกรวดหินและทำให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำที่เป็นประโยชน
์ต่อพืชมากขึ้น

                                3) ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน  โดยการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม  เช่นการปลูกแถบหญ้าแฝกของความลาดเทพื้นที่  ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน

          4.  ปัญหาดินมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย

                 มีเนื้อที่  629,670  ไร่  หรือร้อยละ  12.85  ได้แก่  กลุ่มชุดดินที่  18, 21, 22, 24, 25, 35, 36, 38,40, 41, 44, 48, 49 และ 56   ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย  นอกจากความอุดมสมบูรณ์ต่ำแล้ว   ความสามารถในการอุ้มน้ำก็ต่ำด้วย  จึงดูดซับน้ำได้น้อย  ทำให้พืชที่ปลูกมักขาดน้ำได้ง่าย  โดยเฉพาะในระยะที่ฝนทิ้งช่วง

แนวทางในการแก้ไขปัญหาและการจัดการดิน

                                1)  ปรับปรุงโครงสร้างของดิน  โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์  ได้แก่  ปุ๋ยพืชสด  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  และปุ๋ยชีวภาพ  เพื่อทำให้โครงสร้าง
ของดินดีขึ้น
     ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้น  และทำให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดีขึ้น

                                2)  เลือกชนิดพืชที่ปลูกให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของดิน โดยต้องเป็นพืชไร่ละไม้ผลทนแล้ง ได้แก่พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

                                3)  จัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็ก    เพื่อกักเก็บน้ำไว้ในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ    หรือช่วงที่ต้องการน้ำมาก

          5.  ปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการปลูกพืช

                                พื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่ปลูกพืชโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก แต่เนื่องจากความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนและการ
กระจายตัวของฝนที่ตกในแต่ละพื้นที่มักไม่แน่นอน
  ทำให้เกิดปัญหา  ภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วง  ซึ่งเป็นข้อจำกัดหลักที่กระทบต่อผลผลิตของพืช

                                แนวทางในการแก้ไขปัญหาและการจัดการดิน

                                1)  ปรับปรุงดิน  โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์  ได้แก่  ปุ๋ยพืชสด  ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก  และปุ๋ยชีวภาพ  เพื่อเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ
ของดิน
  ตลอดจนใช้วิธีการปลูกพืชคลุมดิน  เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ  และรักษาความชุ่มชื้นของดิน

                                2)  จัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็ก  เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ